ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

EEC : ใครได้ประโยชน์ และความคาดหวังของประชาชน

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง EEC : ใครได้ประโยชน์ และความคาดหวังของประชาชน ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22 – 23 มีนาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,501 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับโครงการ EEC : ใครได้ประโยชน์ และความคาดหวังของประชาชน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับรู้หรือได้ยินข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.90 ระบุว่า ไม่เคยรับรู้/ได้ยิน และร้อยละ 43.10 ระบุว่า เคยรับรู้/ได้ยิน โดยประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.81 รับรู้หรือได้ยินข้อมูลข่าวสาร จากโทรทัศน์ รองลงมา ร้อยละ 9.84 ระบุว่า Social Media (Facebook , Line , Twitter , etc.) ร้อยละ 6.12 ระบุว่า ญาติพี่น้อง/เพื่อน/คนรู้จัก ร้อยละ 5.05 ระบุว่า วิทยุ ร้อยละ 4.12 ระบุว่า เว็บไซต์ ร้อยละ 3.72 ระบุว่า หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 0.93 ระบุว่า ป้ายประกาศ/แผ่นพับ/ใบปลิว และร้อยละ 0.40 ระบุว่า นิตยสาร

 

เมื่อถามถึงความหมายของ “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)” ว่าคืออะไร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่  ร้อยละ 51.00 ระบุว่า เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและโลจิสติกส์ เชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง 3 สนามบิน สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา มีรถไฟรางคู่ ท่าเรือแหลมฉบัง ถนน Motorway รองลงมา ร้อยละ 48.53 ระบุว่า เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ในบริเวณพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ร้อยละ 37.56 ระบุว่า    เป็นโครงการเพื่อยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย ร้อยละ 31.38 ระบุว่า เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้นโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อยกระดับประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ร้อยละ 25.81 ระบุว่า เป็นการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การพัฒนาเมือง ทั้งการท่องเที่ยวและสาธารณสุข ร้อยละ 24.57 ระบุว่า เป็นการพัฒนาด้านพลังงานและอุตสาหกรรมที่ใช้ เทคโนโลยีขั้นสูง  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และร้อยละ 5.87 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

สำหรับความคิดเห็นต่อผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.75 ระบุว่า ประชาชนทั้งประเทศ รองลงมา ร้อยละ 21.79 ระบุว่า ประชาชนในพื้นที่ที่มีโครงการ ร้อยละ 19.32 ระบุว่า นักลงทุนจากต่างชาติ ร้อยละ 11.90 ระบุว่า รัฐบาล ร้อยละ 8.19 ระบุว่า นักการเมือง ร้อยละ 5.87 ระบุว่า ภาคเอกชนในประเทศ และร้อยละ 4.17  ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคาดหวังของประชาชนจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.05 ระบุว่า ให้เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 21.53 ระบุว่า ให้ประเทศได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ร้อยละ 10.62 ระบุว่า ให้การคมนาคม ระบบขนส่งมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย  มากยิ่งขึ้น ทำให้ขนส่งสินค้าได้รวดเร็วขึ้น ร้อยละ 8.55 ระบุว่า ให้ประเทศและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากโครงการนี้ ร้อยละ 8.26 ระบุว่า คนไทยจะได้มีงานทำ ลดปัญหาการว่างงาน ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ร้อยละ 5.31 ระบุว่า คาดหวังให้โครงการนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ร้อยละ 2.95 ระบุว่า ให้มีโครงการแบบนี้ทุกภูมิภาคเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างทั่วถึง ร้อยละ 2.06 ระบุว่า ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทำงานด้วยความโปร่งใส ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 1.77 ระบุว่า เป็นศูนย์รวมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ของประเทศ และร้อยละ 0.88 ระบุว่า ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th