ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

นิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

          สำนักงานกิจการยุติธรรม ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “นิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์” โดยเริ่มทำการสำรวจจากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,269 หน่วยตัวอย่าง สอบถามเกี่ยวกับการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์” เพื่อแก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ อีกทั้ง เพื่อเป็นการฝึกทักษะอาชีพ พัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน ตลอดจนเป็นการสร้างผู้พ้นโทษให้เป็นผู้ประกอบการใหม่ และเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพในอนาคต ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราการกระทำผิดซ้ำลดลง และคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืน โดยการสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) และกระจายตัวอย่างทั่วประเทศไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95.00

          จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการมีนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.89 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 32.86 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 4.02 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
ร้อยละ 2.99 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 0.24 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

          เมื่อถามถึงลักษณะของกิจกรรมฝึกวิชาชีพในนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.93 ระบุว่า งานประกอบเครื่องยนต์ รองลงมา ร้อยละ 54.22 ระบุว่า เกษตรกรรม ร้อยละ 53.43 ระบุว่า
งานผลิตเฟอร์นิเจอร์/งานไม้ ร้อยละ 40.90 ระบุว่า งานเสริมสวย/ตัดแต่งทรงผม และร้อยละ 39.95 ระบุว่า
งานประดิษฐ์/ตัดเย็บเสื้อผ้า

          เมื่อถามถึงลักษณะรูปแบบการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.05
ระบุว่า การตั้งเป็นโรงงานในพื้นที่ปิด (มีข้อจำกัดในการเข้า-ออกพื้นที่) ร้อยละ 43.58 ระบุว่า ควรเป็นโรงงานพื้นที่เปิดเหมือนนิคมอุตสาหกรรมทั่วไป ร้อยละ 2.05 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 0.32 ระบุว่า ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรม

          ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงแนวคิดการมี “นิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์” จะช่วยให้คนที่เคยกระทำผิด ทำผิดน้อยลงหรือไม่กระทำผิดซ้ำได้หรือไม่ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.44 ระบุว่า ช่วยให้คนทำผิดลดลง/ไม่กระทำผิดซ้ำได้ ร้อยละ 15.84 ระบุว่า ไม่แน่ใจ ร้อยละ 10.24 ระบุว่า ไม่สามารถช่วยลดการกระทำผิดซ้ำได้ ร้อยละ 0.32 ระบุว่า
ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 0.16 ระบุว่า ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล

          เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.17 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.83 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.69 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.39 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.70 มีอายุ 36 – 45 ปี และ 46 – 55 ปี ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 22.38 มีอายุ 56 – 65 ปี และร้อยละ 9.14 มีอายุ 66 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 0.86 จบการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา ร้อยละ 26.64 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 13.24 จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 20.88 จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. ร้อยละ 7.57 จบการศึกษาอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 26.00 จบการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 4.57 จบการศึกษาปริญญาโท และร้อยละ 0.24 จบการศึกษาปริญญาเอก ตัวอย่างร้อยละ 23.88 ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.10 ประกอบอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณ/ว่างงาน ร้อยละ 15.68 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.13 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 14.11 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 11.58 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 2.52 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 14.58 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 8.90 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 16.63 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001 - 10,000 บาท ร้อยละ 26.00 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 12.37 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 14.03 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท และร้อยละ 7.49 ไม่ระบุรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 16.55 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร้อยละ 9.38 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ ร้อยละ 27.34 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง ร้อยละ 33.18 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.55
มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคใต้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th