ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5
ประชาชนยังกลัวโควิด – 19 อยู่หรือไม่
วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชาชนยังกลัวโควิด – 19 อยู่หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 7 กันยายน 2563 จากประชาชน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,315 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์ โรคระบาดโควิด - 19 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความกังวลต่อการติดเชื้อโรคระบาดโควิด – 19 พบว่า ร้อยละ 23.04 ระบุว่า กังวลมาก ร้อยละ 36.81 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล ร้อยละ 16.81 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล และร้อยละ 23.34 ระบุว่า ไม่กังวลเลย
ด้านเหตุผลสำคัญที่ประชาชนเลือกสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.98 ระบุว่า กลัวตาย รองลงมา ร้อยละ 9.28 ระบุว่า กลัวสังคมรังเกียจ ร้อยละ 7.45 ระบุว่า เป็นคำสั่งรัฐบาล ร้อยละ 7.22 ระบุว่า กลัวทำให้คนอื่นตาย และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ส่วนความคิดเห็นต่อการรับมือของประเทศไทย หากเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ในรอบที่ 2 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.24 ระบุว่า สามารถรับมือได้ รองลงมา ร้อยละ 10.95 ระบุว่า ไม่สามารถรับมือได้ และร้อยละ 9.81 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อความเพียงพอของระบบการแพทย์และสาธารณสุข หากเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ในรอบที่ 2 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.14 ระบุว่า มีเพียงพอ รองลงมา ร้อยละ 22.13 ระบุว่า ไม่เพียงพอ และร้อยละ 9.73 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.67 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.86 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.33 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.61 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.97 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.03 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 8.52 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.22 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 19.09 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.21 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 22.96 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.68 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.57 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.29 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 21.44 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.76 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.18 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.62 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 31.41 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.17 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.76 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.19 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.64 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.83 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.04 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.00 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.42 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.99 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.41 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.87 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.19 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 ประกอบอาชีพพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 0.92 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 17.41 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 26.46 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.77 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.89 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.45 ไม่ระบุรายได้
ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5