ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

เสรีภาพในการโจมตีผู้เห็นต่าง

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

          ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เสรีภาพในการโจมตี   ผู้เห็นต่าง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 – 3 กันยายน 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,326 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อต่อต้าน/โจมตี ผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมืองการสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

 

          จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อต่อต้าน/โจมตี ผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.58 ระบุว่า เป็นสิทธิและเสรีภาพที่กระทำได้ในระบอบประชาธิปไตย รองลงมา ร้อยละ 13.20 ระบุว่า เป็นการละเมิดสิทธิผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง ร้อยละ 12.14 ระบุว่า เป็นแค่การทำตามกระแส ร้อยละ 8.90 ระบุว่า ผู้ถูกต่อต้าน/โจมตีผ่านสื่อออนไลน์ ก็มีสิทธิตอบโต้กลับ ร้อยละ 8.37 ระบุว่า เป็นแค่กิจกรรมทางการเมืองทั่ว ๆ ไป อย่างหนึ่ง ไม่เสียหายอะไร และเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่สร้างความแตกแยกในสังคม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 4.37 ระบุว่า เป็นการรณรงค์ที่มีกลุ่มการเมือง/พรรคการเมือง อยู่เบื้องหลัง ร้อยละ 4.15 ระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ร้อยละ 2.87 ระบุว่า เป็นกิจกรรมทางการเมืองที่บังคับให้คนในสังคมเลือกข้าง ร้อยละ 0.83 ระบุว่า เป็นการรณรงค์ที่มีหน่วยงานต่างประเทศ อยู่เบื้องหลัง และร้อยละ 10.71 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

          ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อต่อต้าน/โจมตี ผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง พบว่า ร้อยละ 17.19 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นสิทธิและเสรีภาพที่สามารถกระทำได้โดยการแสดงออกผ่านสื่อออนไลน์ที่หลากหลายช่องทาง ร้อยละ 17.65 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ เป็นสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่างทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ และเป็นช่องทางที่แสดง ความคิดเห็นง่ายที่สุด ร้อยละ 20.36 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ เป็นการละเมิดสิทธิผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง ซึ่งทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการเเสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน ร้อยละ 37.18 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการเเสดงความคิดเห็นที่ต่างกัน ควรเคารพความคิดเห็น ไม่ควรโจมตีคนที่เห็นต่างทางการเมือง และร้อยละ 7.62 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

 

          ส่วนความกลัวของประชาชนหากมีการแสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง แล้วจะถูกต่อต้าน/โจมตี ผ่านสื่อออนไลน์ พบว่า ร้อยละ 10.48 ระบุว่า กลัวมาก เพราะ ทุกเพศ ทุกวัยมีสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถรับรู้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 20.67 ระบุว่า ค่อนข้างกลัว เพราะ เกรงว่าจะเกิดผลกระทบต่ออาชีพการงาน เรื่องส่วนตัว และครอบครัว ร้อยละ 17.35 ระบุว่า ไม่ค่อยกลัว เพราะ ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แต่อยู่ในกรอบของกฎหมาย ร้อยละ 46.30 ระบุว่า ไม่กลัวเลย เพราะ เป็นสิทธิและเสรีภาพที่สามารถแสดงความคิดเห็นต่างทางการเมืองในพื้นที่ส่วนตัวของตนเอง โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และร้อยละ 5.20 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

         ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงผลกระทบต่อการตัดสินใจในการบริโภคของประชาชน จากกรณีที่มีการรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์เพื่อแบนสินค้า/บริการของผู้สนับสนุนหรือผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง พบว่า ร้อยละ 11.16 ระบุว่า มีผลกระทบมาก เพราะ มีผลทางด้านจิตใจกับผู้สนับสนุนหรือผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง ทำให้แบนสินค้านั้น ๆ ตามไปด้วย ร้อยละ 15.31 ระบุว่า ค่อนข้างมีผลกระทบ เพราะ ผู้สนับสนุนหรือผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมืองไม่มีใจเป็นกลาง ทำให้ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้านั้น ๆ ด้วย ร้อยละ 12.90 ระบุว่า ไม่ค่อยมีผลกระทบ เพราะ การบริโภคสินค้าจะดูจากสรรพคุณ คุณภาพ และคุณสมบัติมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ ร้อยละ 57.46 ระบุว่า ไม่มีผลกระทบเลย เพราะ ดูที่ตัวสินค้าเป็นหลักในการบริโภค และขึ้นอยู่กับความพึงพอใจหรือความชอบส่วนตัวมากกว่า พรีเซ็นเตอร์หรือยี่ห้อสินค้า และร้อยละ 3.17 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

          เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.90 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.02 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.25 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.18 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.65 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.79 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.21 เป็นเพศหญิง

 

          ตัวอย่างร้อยละ 9.28 มีอายุ 15 – 25 ปี ร้อยละ 14.17 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.59 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.79 มีอายุ 46 – 59 ปี     และร้อยละ 22.17 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.54 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.68 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.98 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 25.34 สถานภาพโสด ร้อยละ 69.08 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.60 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.98 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

 

          ตัวอย่างร้อยละ 28.13 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.41 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.51 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.51 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.13 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 9.73 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.33 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.44 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.29 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.40 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.23 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.39 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.15 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.04 ไม่ระบุอาชีพ

 

          ตัวอย่างร้อยละ 20.06 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.51 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.51 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.26 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.37 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 6.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.73 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th