ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

บัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ปี 2562

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

...........ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “บัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ปี 2562” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 27 ธันวาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ปี 2562 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

 

...........จากการสำรวจ เมื่อถามถึงการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งปี 2562 ว่าต้องกาบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อเลือก ส.ส. เพียง 1 ใบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.55 ระบุว่า ทราบ รองลงมา ร้อยละ 46.77 ระบุว่า ไม่ทราบ และร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

 

...........สำหรับการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับหมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มาจากพรรคการเมืองเดียวกันจะเป็นแบบ “ต่างเขตเลือกตั้ง ต่างหมายเลข” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.20 ระบุว่า ไม่ทราบ รองลงมา ร้อยละ 30.88 ระบุว่า ทราบ ร้อยละ 1.84 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุ

 

...........ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ปี 2562 แบบ “ต่างเขตเลือกตั้งต่างหมายเลข” ว่าจะมีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.57 ระบุว่า ผลเสียมากกว่าผลดี รองลงมา ร้อยละ 24.82 ระบุว่า ผลดีกับผลเสียไม่แตกต่างกัน ร้อยละ 20.67 ระบุว่า ผลดีมากกว่าผลเสีย ร้อยละ 8.14 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุ   

 

...........ทั้งนี้โดยผู้ที่ระบุว่า ผลเสียมากกว่าผลดี ให้เหตุผลว่า ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน จำนวนผู้ไปลงคะแนนเลือกตั้งลดลง และทำให้เกิดบัตรเสียเพิ่มมากขึ้น ส่วนผู้ที่ระบุว่า ผลดีกับผลเสียไม่แตกต่างกัน ให้เหตุผลว่า ไม่มีความชัดเจน ไม่เห็นอะไรเปลี่ยนแปลง และขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้น ๆ ว่าจะออกเสียงไปในทิศทางใด และผู้ที่ระบุว่า ผลดีมากกว่าผลเสีย ให้เหตุผลว่า ทำให้เข้าใจง่าย และมีความเป็นสัดส่วนมากขึ้น

 

...........ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการกำหนดให้หมายเลขผู้สมัครของพรรคการเมืองแต่ละพรรค เป็นหมายเลขเดียวกันทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.66 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 24.90 ระบุว่า เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 14.61 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 2.15 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

 

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th