ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 2

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

  • 3

    ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 08 ธ.ค. 2567

  • 4

    ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ธ.ค. 2567

  • 5

    พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 พ.ย. 2567

นายกรัฐมนตรี และ ประธานสภาผู้แทนราษฎร

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

....................ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “นายกรัฐมนตรี และ ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤษภาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,260 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการสนับสนุนให้สมาชิกรัฐสภาเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรีและการสนับสนุนให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกใครเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

 

....................จากการสำรวจ เมื่อถามถึงบุคคลที่จะสนับสนุนให้สมาชิกรัฐสภาเลือกมาเป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 39.05 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรคพลังประชารัฐ) รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 25.48 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (พรรคอนาคตใหม่) อันดับ 3 ร้อยละ 21.43 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 4 ร้อยละ 5.00 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 5 ร้อยละ 2.62 ระบุว่าเป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 2.54 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) อันดับ 7 ร้อยละ 1.43 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และร้อยละ 2.45 อื่น ๆ ได้แก่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคเศรษฐกิจใหม่), น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา), นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา), นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์), นายอนันต์ อัศวโภคิน, นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย), นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ), พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา, นายดํารงค์ พิเดช (พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย), นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์), นายบัญญัติ บรรทัดฐาน (พรรคประชาธิปัตย์) และนายวราวุธ ศิลปอาชา (ชาติไทยพัฒนา)

 

....................ด้านที่มาของนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนอยากได้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.99 ระบุว่า อยากได้นายกรัฐมนตรีจากในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอให้ชิงเก้าอี้นายกฯ รองลงมา ร้อยละ 28.49 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีจากคนในบัญชีรายชื่อหรือคนนอกบัญชีรายชื่อก็ได้ และร้อยละ 9.52 ระบุว่า อยากได้นายกรัฐมนตรีจากคนนอกบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอให้ชิงเก้าอี้นายกฯ

 

....................สำหรับบุคคลที่จะสนับสนุนให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกมาเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 29.92 ระบุว่าเป็น นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 19.37 ระบุว่า ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ/ไม่แสดงความคิดเห็น อันดับ 3 ร้อยละ 16.19 ระบุว่าเป็น นายบัญญัติ บรรทัดฐาน (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 4 ร้อยละ 9.52 ระบุว่าเป็น นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 5 ร้อยละ 7.86 ระบุว่าเป็น นายชัย ชิดชอบ (พรรคภูมิใจไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 6.35 ระบุว่าเป็น วันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) อันดับ 7 ร้อยละ 6.19 ระบุว่าเป็น นายสุชาติ ตันเจริญ (พรรคพลังประชารัฐ) อันดับ 8 ร้อยละ 2.30 ระบุว่าเป็น นายวิรัช รัตนเศรษฐ (พรรคพลังประชารัฐ) และร้อยละ 2.30 อื่น ๆ ได้แก่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (พรรคอนาคตใหม่), นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์), นายปิยบุตร แสงกนกกุล (พรรคอนาคตใหม่), นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ (พรรคประชาธิปัตย์), นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย), นายนิยม ช่างพินิจ (พรรคเพื่อไทย), นายสมศักดิ์ เทพสุทิน (พรรคพลังประชารัฐ) และพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)

 

....................ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนคิดว่าจะมี “งูเห่า” (ไม่ทำตามมติพรรค) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 43.10 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 29.13 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 27.86 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 4 ร้อยละ 27.14 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 5 ร้อยละ 24.92 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 6 ร้อยละ 23.02 ระบุว่า ไม่มี “งูเห่า” ในพรรคใดเลย อันดับ 7 ร้อยละ 18.10 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา อันดับ 8 ร้อยละ 17.70 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 9 ร้อยละ 17.46 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อชาติ, พรรคเศรษฐกิจใหม่ และพรรครวมพลังประชาชาติไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 10 ร้อยละ 17.30 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ อันดับ 11 ร้อยละ 5.63 ระบุว่า ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ/ไม่แสดงความคิดเห็น และอันดับ 12 ร้อยละ 0.48 ระบุว่าเป็น พรรคไทยศรีวิไลย์

 

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 2

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

  • 3

    ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 08 ธ.ค. 2567

  • 4

    ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ธ.ค. 2567

  • 5

    พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 พ.ย. 2567

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th