ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    กัญชาเป็นยาเสพติด

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 19 พ.ค. 2567

  • 2

    ค่าแรงขึ้น... คุ้มมั๊ยกับค่าแกง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 พ.ค. 2567

  • 3

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 4

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 5

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

พฤติกรรมการฟังของผู้ฟังวิทยุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

          ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “พฤติกรรมการฟังของผู้ฟังวิทยุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” เริ่มทำการสำรวจในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และพักอาศัยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,314 หน่วยตัวอย่าง ซึ่งสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการฟังเพลง และพฤติกรรมการฟังรายการวิทยุในช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) โดยการสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โดยแบ่งพื้นที่การสำรวจออกเป็น 3 พื้นที่ ได้แก่ เขตพื้นที่ชั้นใน เขตพื้นที่ชั้นกลาง และเขตพื้นที่ชั้นนอก เพื่อให้ครอบคลุมทุกเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการลงพื้นที่ภาคสนาม (Field Survey) โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 97.00

          จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับฟังรายการวิทยุ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.01 รับฟังรายการวิทยุ และร้อยละ 36.99 ที่ไม่รับฟัง โดยในจำนวนตัวอย่างที่รับฟัง ร้อยละ 71.38 รับฟังผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (มือถือ) มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 50.36 รับฟังผ่านเครื่องรับวิทยุ ซึ่งร้อยละ 60.91 รับฟังผ่านวิทยุในรถยนต์มากที่สุด ร้อยละ 7.97 รับฟังผ่านโน๊ตบุ๊ก (Notebook) ร้อยละ 4.59 รับฟังผ่านแท็บเล็ต (Tablet) และร้อยละ 2.78 รับฟังผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ตามลำดับ

          เมื่อถามถึงช่องทางการรับฟังรายการวิทยุ พบว่า ตัวอย่างรับฟังผ่านช่องทางเครื่องรับวิทยุ: ฟังที่บ้านหรือเครื่องรับวิทยุในรถ เป็นต้น (คลื่นวิทยุ AM, FM) มากที่สุด ร้อยละ 36.84 รองลงมา ช่องทางโซเซียลมีเดีย ร้อยละ 33.21 โดยรับฟังผ่านยูทูป (YouTube) ร้อยละ 98.18 เฟซบุ๊ก (Facebook) ร้อยละ 52.00 และติ๊กต็อก (Tiktok) ร้อยละ 40.73 ตามลำดับ ช่องทางแอปพลิเคชัน ร้อยละ 27.78 โดยรับฟังผ่านแอปพลิเคชันยูทูป มิวสิก (YouTube Music) ร้อยละ 67.39 จูกซ์ (JOOX) ร้อยละ 53.04 และคูลลิซึ่ม (COOLISM) ร้อยละ 8.70 ตามลำดับ และช่องทางเว็บไซต์ ร้อยละ 2.17 โดยรับฟังผ่านเว็บไซต์ยูทูป (YouTube.com) ร้อยละ 66.67 เว็บไซต์จูกซ์ (joox.com) ร้อยละ 55.56 และเว็บไซต์เอไทม์ (atime.live) ร้อยละ 16.67 ตามลำดับ สำหรับช่วงเวลาในการรับฟังรายการวิทยุ ตัวอย่างจะรับฟังในช่วงเย็น (16.00-18.59) มากที่สุด ร้อยละ 48.31 รองลงมา ช่วงเช้า (05.00-08.59) ร้อยละ 41.79 ช่วงก่อนนอน (19.00-22.30) ร้อยละ 39.37 ช่วงสาย (09.00-11.30) ร้อยละ 36.23 และช่วงบ่าย (13.01-15.59) ร้อยละ 28.26 ตามลำดับ

          ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงกิจกรรมที่ตัวอย่างทำเมื่อเปิดรับฟังรายการวิทยุ คือ ในขณะเดินทางหรือขับรถ มากที่สุด ร้อยละ 30.43 รองลงมา ตอนทำกิจกรรมหรืองานอดิเรก เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร ร้อยละ 22.22 ขณะทำงาน ร้อยละ 19.20 ขณะเข้านอน ร้อยละ 15.46 เปิดไว้ตลอดเวลา ร้อยละ 10.76 และเมื่อว่างหรือขณะพักผ่อน ร้อยละ 1.93 ตามลำดับ

          เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.29 เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.65 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 2.06 เป็นเพศทางเลือก (LGBTQ+) ตัวอย่างร้อยละ 24.96 มีอายุ 12-21 ปี (Gen Z) ร้อยละ 38.89 มีอายุ 22-41 ปี (Gen Y) ร้อยละ 23.90 มีอายุ 42-57 ปี (Gen X) ร้อยละ 12.10 มีอายุ 58-76 ปี (Gen Baby Boomer) และร้อยละ 0.15 มีอายุ 77 ปีขึ้นไป (Gen Silent) ตัวอย่างร้อยละ 20.62 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 43.15 จาการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 12.63 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 22.53 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.07 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 26.26 ประกอบอาชีพค้าขายหรือธุรกิจส่วนตัวหรืออาชีพอิสระ ร้อยละ 23.21 เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ร้อยละ 18.80 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 15.83 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปหรือผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 5.63 ประกอบอาชีพข้าราชการหรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐ ร้อยละ 4.72 ประกอบอาชีพพ่อบ้านหรือแม่บ้าน ร้อยละ 2.74 ประกอบอาชีพพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.60 เกษียณอายุราชการ และร้อยละ 1.21 ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 69.10 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท ร้อยละ 21.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.02 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 2.74 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 – 50,000 บาท ร้อยละ 0.85 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001 – 60,000 บาท ร้อยละ 0.38 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001 – 70,000 บาท และร้อยละ 0.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 70,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 41.55 พักอาศัยในเขตพื้นที่ชั้นใน ร้อยละ 35.24 พักอาศัยในเขตพื้นที่ชั้นกลาง และร้อยละ 23.21 พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชั้นนอก

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    กัญชาเป็นยาเสพติด

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 19 พ.ค. 2567

  • 2

    ค่าแรงขึ้น... คุ้มมั๊ยกับค่าแกง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 พ.ค. 2567

  • 3

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 4

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 5

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th